ไปหน้าแรก

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 143

ว่าด้วยอิทธิบาท กับ ปธานสังขาร

[๑๑๕๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุอาศัยฉันทะแล้ว ได้สมาธิ

ได้เอกัคคตาจิต นี้เรียกว่า ฉันทสมาธิ. เธอยังฉันทะใหัเกิด พยายาม ปรารภ

ความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้ เพื่อไม่ให้บาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด

เกิดขึ้น เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว เพื่อให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด เกิด

ขึ้น เพื่อความตั้งอยู่ เพื่อความไม่เลือนหาย เพื่อเจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไป เพื่อ

ความไพบูลย์ เพื่อความเจริญบริบูรณ์แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว เหล่านี้

เรียกว่า ปธานสังขาร. ฉันทะนี้ด้วย ฉันทสมาธินี้ด้วย และปธานสังขารเหล่านี้

ด้วย ดังพรรณนามานี้ นี้เรียกว่า อิทธิบาทประกอบด้วยฉันทสมาธิและปธาน

สังขาร.

[๑๑๕๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุอาศัยวิริยะแล้ว ได้สมาธิ

ได้เอกัคคตาจิต นี้เรียกว่า วิริยสมาธิ เธอยังฉันทะให้เกิด ฯลฯ เพื่อความ

เจริญบริบูรณ์แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว เหล่านี้เรียกว่า ปธานสังขาร วิริยะ

นี้ด้วย วิริยสมาธินี้ด้วย และปธานสังขารเหล่านี้ด้วย ดังพรรณนามานี้ นี้เรียกว่า

อิทธิบาทประกอบด้วยวิริยสมาธิและปธานสังขาร.

[๑๑๕๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุอาศัยจิตแล้ว ได้สมาธิ ได้

เอกัคคตาจิต นี้เรียกว่า จิตตสมาธิ เธอยังฉันทะให้เกิด ฯลฯ เพื่อความเจริญ

บริบูรณ์แห่งกุศธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว เหล่านี้เรียกว่า ปธานสังขาร จิตนี้ด้วย

จิตตสมาธินี้ด้วย และปธานสังขารเหล่านี้ด้วย ดังพรรณนามานี้ นี้เรียกว่า

อิทธิบาทประกอบด้วยจิต สมาธิ และปธานสังขาร.

[๑๑๕๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุอาศัยวิมังสาแล้ว ได้สมาธิ

ได้เอกัคคตาจิต นี้เรียกว่า วิมังสาสมาธิ เธอยังฉันทะให้เกิด พยายาม

ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้ เพื่อไม่ให้บาปอกุศลธรรมที่ยัง

ไม่เกิด เกิดขึ้น เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว เพื่อให้กุศลกรรมที่ยัง

ไม่เกิด เกิดขึ้น เพื่อความตั้งอยู่ เพื่อความไม่เลือนหาย เพื่อความเจริญยิ่งๆ

ขึ้นไป เพื่อความไพบูลย์ เพื่อความเจริญบริบูรณ์แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว

เหล่านี้เรียก ปธานสังขาร วิมังสานี้ด้วย วิมังสาสมาธินี้ด้วย และปธานสังขาร

เหล่านี้ด้วย ดังพรรณนามานี้ นี้เรียกว่า อิทธิบาทประกอบด้วยวิมังสาสมาธิ

และปธานสังขาร.

จบฉันทสูตรที่ ๓

อรรถกถาฉันทสูตร

ฉันทสูตรที่ ๓. ความพอใจคือความเป็นผู้ใคร่จะทำ ชื่อว่า ฉันทะ

คำว่า อาศัยแล้ว ได้แก่ทำให้เป็นที่พึงพาอาศัย หมายความว่าทำให้ยิ่งใหญ่

เครื่องปรุงที่เป็นความเพียร ชื่อว่า ปธานสังขาร คำนี้ เป็นชื่อของความ

เพียรที่เรียกชื่อว่า ความเพียรชอบที่ทำหน้าที่สี่อย่างให้สำเร็จ. ความพอใจใน

คำเป็นต้นว่า อิติ อยํ จ ฉนฺโท เป็นฉันทสมาธิประกอบด้วยฉันทะและปธาน

สังขาร แม้ปธานสังขารก็ประกอบด้วยฉันทะและสมาธิ เพราะฉะนั้น พระองค์

จึงทรงรวมธรรมทั้งหมดนั้นเข้าด้วยกัน แล้วตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า

อิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิและปธานสังขาร. ส่วนในอิทธิบาทวิภังค์

ตรัสถึงธรรมที่หารูปมิได้ที่เหลือซึ่งประกอบด้วยธรรมเหล่านี้ด้วยนัยเป็นต้นว่า

เวทนาขันธ์ของผู้เช่นนั้นใด ว่าเป็นอิทธิบาท.

อีกอย่างหนึ่ง ธรรมทั้งสามอย่าง เป็นทั้งฤทธิ์ เป็นทั้งทางให้ถึงฤทธิ์.

อย่างไร. จริงอยู่ เมื่อเจริญฉันทะ ฉันทะก็ย่อมชื่อว่าเป็นฤทธิ์. สมาธิและ

ปธานสังขาร ก็ย่อมชื่อว่าเป็นทางให้ถึงฤทธิ์. เมื่อเจริญสมาธิ สมาธิก็ย่อม

ชื่อว่าเป็นฤทธิ์ ฉันทะและปธานสังขาร ก็ย่อมกลายเป็นทางให้ถึงฤทธิ์แห่ง

สมาธิ เมื่อเจริญปธานสังขาร ปธานสังขารก็กลายเป็นฤทธิ์. ฉันทะและ

สมาธิ ก็จะกลายเป็นทางให้ถึงฤทธิ์แห่งปธานสังขาร เพราะเมื่อธรรมที่

ประกอบพร้อมกันสำเร็จในธรรมอย่างหนึ่ง แม้ธรรมที่เหลือ ก็ย่อมสำเร็จ

เหมือนกัน.

อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบความที่ธรรมเหล่านี้เป็นอิทธิบาท แม้ด้วย

อำนาจความเป็นส่วนเบื้องต้นของธรรมนั้น ๆ. จริงอยู่ ฌานที่ ๑ ชื่อว่าเป็น

ฤทธิ์ ฉันทะเป็นต้นที่ประกอบพร้อมกับการตระเตรียมอันเป็นส่วนเบื้องต้นของ

ฌานที่ ๑ ก็ชื่อว่าเป็นทางให้ถึงฤทธิ์. ตามนัยนี้ไปจนถึงเนวสัญญานาสัญญาย-

ตนะ เริ่มแต่การแสดงฤทธิ์ไปจนถึงอภิญญาคือตาทิพย์ แล้วนำเอานัยนี้ไป

ใช้ได้ตั้งแต่โสดาปัตติมรรคกระทั่งถึงอรหัตมรรค. แม้ในอิทธิบาทที่เหลือก็

ทำนองนี้.

แต่สำหรับบางท่านกล่าวว่า ฉันทะที่ยังไม่สำเร็จ* เป็นอิทธิบาท. ใน

กรณีนี้ เพื่อเป็นการย่ำยีวาทะของท่านเหล่านั้น เรามีถ้อยคำชื่อว่า อุตตรจูฬวาร

ที่มาในอภิธรรมว่า

อิทธิบาทมี ๔ อย่าง คือ ฉันทิทธิบาท วิริยิทธิบาท จิตติทธิบาท

วีมังสิทธิบาท. ในอิทธิบาท ๔ นั้น ฉันทิทธิบาท เป็นไฉน. ภิกษุในธรรม

วินัยนี้ สมัยใด เจริญโลกุตรฌาน ที่นำออกจากทุกข์ ที่ให้ถึงความสิ้นไป

แห่งทุกข์ สงัดจากกามทั้งหลายได้แล้ว เพื่อบรรลุชั้นที่ ๑ สำหรับละความเห็นผิด

ฯลฯ แล้วเข้าถึงฌานที่ ๑ ซึ่งปฏิบัติยาก รู้ได้ช้าแล้วอยู่ ในสมัยนั้น ความพอใจ

ความเป็นผู้พอใจ ความอยากทำ ความฉลาดเฉลียว ความใคร่ธรรม

* พม่า-ยังไม่เกิด

อันนี้ เราเรียกว่า อิทธิบาทคือความพอใจ. ธรรมที่เหลือ ประกอบเข้ากับ

อิทธิบาทคือความพอใจ แต่อิทธิบาทเหล่านี้ มาแล้ว ด้วยอำนาจโลกุตระ

เท่านั้น.

ในอิทธิบาท ๔ นั้น พระรัฐปาลเถระ ทำความพอใจให้เป็นธุระ

แล้วจึงยังโลกุตรธรรมให้เกิดได้. พระโสณเถระทำความเพียรให้เป็นธุระ

พระสัมภูตเถระ ทำความเอาใจใส่ให้เป็นธุระ พระโมฆราชผู้มีอายุ ทำความ

พิจารณาใคร่ครวญหาเหตุผลให้เป็นธุระ ด้วยประการฉะนี้. ในอิทธิบาท ๔

นั้น เหมือนเมื่อลูกอำมาตย์ ๔ คน ปรารถนาตำแหน่ง เข้าไปอาศัยพระราชา

อยู่ คนหนึ่งเกิดความพอใจในการรับใช้ รู้พระราชอัธยาศัย และความพอ

พระราชหฤทัยของพระราชา จึงรับใช้ทั้งกลางวันและกลางคืน ทำให้พระราชา

โปรดปรานแล้ว ก็ได้รับตำแหน่งฉันใด พึงทราบผู้ให้โลกุตรธรรมเกิดได้

ด้วยฉันทธุระ ฉันนั้น.

แต่อีกคนหนึ่ง ไม่อาจรับใช้ทุกๆ วันได้ จึงคิดว่าเมื่อเกิดความจำเป็น

ขึ้น เราจะรับใช้จนสุดสามารถ เมื่อชายแดนกำเริบ ถูกพระราชาส่งไปแล้วก็

ปราบข้าศึกจนสุดสามารถ ได้รับตำแหน่ง. คนนั้น ฉันใด พึงทราบผู้ที่ให้

โลกุตรธรรมเกิดได้ ด้วยวิริยธุระ ฉันนั้น.

อีกคนคิดว่า การรับใช้ทุกๆ วันก็ดี การเอาทรวงอกรับหอกและลูกศร

ก็ดี เป็นภาระโดยแท้ เราจะรับใช้ด้วยกำลังมนต์ แล้วก็ตั้งหน้าตั้งตา

ฝึกหัดความรู้เกี่ยวกับเพลงอาวุธ ทำให้พระราชาโปรดปรานด้วยการจัดแจง

มนต์ (ความรู้) จนได้รับตำแหน่ง. บุคคลนั้นฉันใด พึงทราบผู้ที่ให้โลกุตรธรรม

เกิดได้ด้วยจิตตธุระ (การเอาใจใส่) ฉันนั้น.

อีกคนหนึ่งคิดว่า การรับใช้เป็นต้น จะมีประโยชน์อะไร ธรรมดา

พวกพระราชา ย่อมประทานตำแหน่งแก่ผู้สมบูรณ์ด้วยชาติ (ลูกผู้ดี) เมื่อ

ประทานแก่ผู้เช่นนั้น ก็จะประทานแก่เรา อาศัยความถึงพร้อมด้วยชาติ

เท่านั้น ก็ได้รับฐานันดร. เขาฉันใด พึงทราบผู้ที่อาศัยความพินิจพิจารณา

ไตร่ตรองหาเหตุผลล้วน ๆ แล้วทำให้เกิดโลกุตรธรรมด้วยวีมังสาธุระ ฉันนั้น.

ในสูตรนี้ ทรงแสดงอิทธิที่มีวิวัฏฏะเป็นบาท ดังที่ว่ามานี้.

จบอรถกถาฉันทสูตรที่ ๓